top of page
รูปภาพนักเขียนHock Tiger

น้ำมันเครื่องตรวจดูด้วยตัวเองยังไง? และควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ถึงจะดีกับเครื่องยนต์

อัปเดตเมื่อ 19 มิ.ย.


น้ำมันเครื่องตรวจดูด้วยตัวเองยังไง? และควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ถึงจะดีกับเครื่องยนต์

การดูแลรักษาเครื่องยนต์รถยนต์ให้มีประสิทธิภาพและใช้งานได้นานนั้น การตรวจสอบและเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง น้ำมันเครื่องทำหน้าที่หล่อลื่นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ลดการเสียดสีและการสึกหรอ แต่การตรวจดูระดับน้ำมันเครื่องและการเปลี่ยนที่เหมาะสมนั้นควรทำอย่างไร? ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีการตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง เพื่อรักษาสภาพเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด


น้ำมันเครื่องรถยนต์ตรวจเช็คบ่อยแค่ไหน?


น้ำมันเครื่องรถยนต์ตรวจเช็คบ่อยแค่ไหน?

โดยปกติ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามรอบเวลาที่ผู้ผลิตแนะนำ หรืออย่างน้อยทุก 2-3 สัปดาห์ (หรือ 1,600 กิโลเมตร) และก่อนการเดินทางไกลทุกครั้ง การตรวจสอบและเติมน้ำมันเครื่องหากจำเป็นใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และอาจช่วยเพิ่มระยะเวลาความน่าเชื่อถือ กำลัง และความประหยัดในการขับขี่ให้กับเครื่องยนต์ของคุณได้อีกหลายปี


ตรวจเช็คด้วยตนเองยังไงได้บ้าง?


ตรวจเช็คด้วยตนเองยังไงได้บ้าง?

รถยนต์สมัยใหม่บางคันมีเซนเซอร์น้ำมันอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะเตือนคุณเมื่อน้ำมันเครื่องของคุณใกล้ถึงระดับที่ปลอดภัยขั้นต่ำ แต่ไม่ว่ารถยนต์ของคุณจะมีอุปกรณ์นี้หรือไม่ก็ตาม การตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องด้วยตนเองเป็นประจำยังคงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำลังวางแผนเดินทางไกล เนื่องจากเซนเซอร์และไฟแดชบอร์ดอาจทำงานผิดพลาดได้โดยที่คุณไม่รู้


  1. สังเกตระดับน้ำมันเครื่องบนก้านวัดที่มีขีดบอกระดับเต็ม (Full, F, MAX) และต่ำ (Low, L, MIN) โดยน้ำมันเครื่องใหม่จะอยู่ในระดับเต็มและควรเติมให้ไม่เกินขีดบน (F, MAX)

  2. หากระดับน้ำมันเครื่องต่ำกว่าขีด L อาจมีปัญหาการรั่วซึมหรือชิ้นส่วนสึกหรอ ควรนำรถไปตรวจสอบและแก้ไขทันที

  3. หากระดับน้ำมันเครื่องสูงกว่าขีด F อาจเกิดจากการเติมเกินหรือมีน้ำมันเชื้อเพลิงปนเปื้อน ควรแก้ไขเพื่อป้องกันปัญหาการสึกหรอและความร้อนสะสม

  4. หากระดับน้ำมันเครื่องใกล้ขีดล่าง (L, MIN) ควรรีบเติมน้ำมันเพิ่มและตรวจเช็กบ่อยขึ้นเพื่อป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์

  5. หากระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบนหรือใกล้เคียงขีดบน (F, MAX) ถือว่าปกติ

  6. หากน้ำมันเครื่องมีสีดำหรือตะกอนมาก บ่งบอกถึงการเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามคู่มือรถกำหนดและใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพ


สีน้ำมันเครื่องต้องแค่ไหนถึงควรเปลี่ยน?


สีน้ำมันเครื่องต้องแค่ไหนถึงควรเปลี่ยน?

สีของน้ำมันเครื่องเหล่านี้จะบ่งบอกได้ว่าเครื่องยนต์ ณ ขณะนั้นมีสุขภาพอย่างไร มีความผิดปกติหรือไม่ โดยสีน้ำมันเครื่องแต่ละสีจะแสดงถึงสุขภาพของเครื่องยนต์แตกต่างกันออกไป


  • น้ำมันเครื่องสีเหลืองโปร่งแสง คือสีน้ำมันเครื่อง ที่สะอาดมีประสิทธิภาพ แต่สีน้ำมันเครื่อง ขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำมันในรถและอายุรถของคุณด้วย สารเติมแต่งบางชนิดอาจทำให้น้ำมันของคุณมีสีเข้มขึ้นเร็วขึ้น น้ำมันเครื่องจะมีสีเข้มขึ้น เมื่อมีการดูดซับการเผาไหม้ ด้วยเหตุนี้สีเหลืองที่เข้มขึ้นจึงอาจจะไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าน้ำมันเครื่องของคุณเก่าหรือสกปรก ในความเป็นจริงการทำให้น้ำมันมีสีเข้มขึ้นอาจบ่งบอกว่ามันทำงานได้ดี

  • น้ำมันเครื่องสีดำ คือน้ำมันเครื่องที่เปลี่ยนจากสีเหลืองมาเป็นสีดำ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า น้ำมันเครื่อง ของคุณเก่าแล้ว ยิ่งถ้าเป็น น้ำมันเครื่อง ที่มีตะกอน ควรรีบทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ทันที แต่ถ้าในบางกรณีน้ำมันเครื่องสีดำสามารถบ่งบอกถึงการอุดตันในระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งอาจมีสิ่งปนเปื้อนเข้าไปในเครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์มีสมรรถนะไม่ดีอาจส่งผลทำให้เครื่องยนต์มีปัญหาได้ ควรนำรถยนต์ไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เพราะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องนั้น ไม่ควรละเลย เพื่อป้องกันไม่ให้เสี่ยงต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์

  • น้ำมันเครื่องสีน้ำตาลหรือสีเทา หากน้ำมันเครื่อง ของคุณเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือเทาที่ผสมกับน้ำนม มีฟองอากาศลอยอยู่บนผิวของ น้ำมันเครื่อง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า น้ำมันเครื่อง มีการปนเปื้อนจากการรั่วไหลของสารหล่อเย็น หรือเครื่องยนต์เดินเบามากเกินไปไม่มีอุณหภูมิในทำงาน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจาก ที่เราขับขี่รถยนต์เพียงระยะสั้น ๆ หรือไม่ค่อยได้ขับขี่รถยนต์นั้นเอง

  • น้ำมันเครื่องสีสนิม ผู้ขับขี่รถยนต์รุ่นเก่าและอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศชื้นหรือเย็นอาจพบว่า น้ำมันเครื่อง เกิดมีสีสนิมได้ เนื่องจากสภาพความชื้นอาจทำให้เกิดการควบแน่นและสนิมที่พื้นผิวที่ก้านวัดน้ำมันโลหะ ส่งผลให้มีการอ่านค่าสีสนิมเมื่อตรวจเช็คน้ำมันเครื่อง



เป็นเพื่อนกับอีซูซุฮกอันตึ๊งบนไลน์ได้แล้ววันนี้

พบกับข่าวสารล่าสุดทาง LINE! มาเช็คข่าวสารและโปรโมชันดีๆ ใน LINE กัน

เพิ่มบัญชีทางการเป็นเพื่อน คลิกที่นี่!



 

อ้างอิงข้อมูล


bottom of page